1. หมายเหตุ (Comment)
หมายเหตุ คือข้อความที่แทรกอยู่ภายในซอร์สโค้ดของโปรแกรม เพื่อใช้อธิบายการทำงาน เตือนความจำ หรือเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมและผู้พัฒนาโปรแกรมต่อเข้าใจได้ง่ายขึ้น ช่วยให้สามารถแก้ไขและปรับปรุงโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ข้อความหมายเหตุนี้จะถูกมองข้ามเมื่อทำการคอมไพล์โปรแกรมและไม่มีผลกระทบต่อการรันโปรแกรม ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java มีรูปแบบของหมายเหตุ 2 แบบ ดังนี้
1. หมายเหตุบรรทัดเดียว(Line Comment) จะใช้เครื่องหมาย // นำหน้าข้อความหมายเหตุ โดยข้อความหมายเหตุอยู่ภายใน 1 บรรทัดที่อยู่หลังเครื่องหมาย // จะไม่มีผลต่อโปรแกรม ตัวอย่างเช่น
int i; // just to define i
2. หมายเหตุหลายบรรทัด(Block Comment) จะใช้เครื่องหมาย /* นำหน้าข้อความหมายเหตุและใช้เครื่องหมาย */ ปิดท้ายข้อความหมายเหตุ ตัวอย่างเช่น
int i;
/* Just to define i
This is a block comment
*/
/* Just to define i
This is a block comment
*/
ตัวอย่างโปรแกรม แสดงการเขียนหมายเหตุ
|
2. ตัวระบุ (Identifier)
ตัวระบุ (Identifier) หรือโทเคน (Token) ของภาษา Java เป็นคำที่ใช้ตั้งชื่อในภาษา Java ซึ่งอาจเป็นชื่อฟังก์ชั่นหรือคำศัพท์ที่ภาษา Java เข้าใจ ใช้ในการกำหนดเป็นชื่อ คลาส (Class) เมธอด (Method) คำสงวน (Keyword) ตัวแปร (Variable) และ ค่าคงที่ (Constant) เป็นต้น ซึ่งจะต้องตั้งชื่อให้ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อตัวระบุโดยทั่วไป ดังนี้
1. ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ (a ถึง z หรือ A ถึง Z) หรือ เครื่องหมายขีดเส้นใต้ (underscore) ( _ ) หรือ dollar sign ($) เท่านั้น
2. ตัวถัดไปประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ (a ถึง z หรือ A ถึง Z), ตัวเลขอารบิก (0 ถึง 9), เครื่องหมายขีดเส้นใต้ (underscore) ( _ ) หรือ dollar sign ($) เท่านั้น
3.การตั้งชื่อด้วยตัวอักษรเล็กหรือใหญ่จะเป็นชื่อที่แตกต่างกัน (Case Sensitive) ตัวอย่างเช่น Student กับ student จะเป็นชื่อที่ต่างกัน
4. ตัวระบุที่นิยามขึ้นมาเองห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวน (Keyword)
ตัวอย่างของตัวตัวระบุ (Identifier) ที่ถูกต้อง ดังเช่น
MyClass | ตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวอักษร และตามด้วยตัวอักษรถูกต้องตามกฎข้อ1 และข้อ2 |
student_Score | เป็นการตั้งชื่อที่ถูกต้องตามกฎข้อ1และ2 ให้เครื่องหมายขีดเส้นใต้แบ่งข้อความให้อ่านง่าย |
number2 | เป็นการตั้งชื่อที่ถูกต้องตามกฎข้อ1และ2 ใช้ตัวเลขตามหลังตัวอักษรได้ |
firstStudentRecord_Number | เป็นการตั้งชื่อที่ถูกต้องตามกฎข้อ1และ2 ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ของแต่ละคำเพื่อให้อ่านง่าย |
ตัวอย่างของตัวระบุ(Identifier) ที่ไม่ถูกต้อง ดังเช่น
My Class | เป็นการตั้งชื่อที่ไม่ถูกต้องเพราะมีช่องว่าง ซึ่งผิดกฎข้อ2 |
x+y | เป็นการตั้งชื่อที่ไม่ถูกต้องเพราะเครื่องหมาย + ซึ่งผิดกฎข้อ2 |
2x | เป็นการตั้งชื่อที่ไม่ถูกต้องเพราะขึ้นต้นด้วยตัวเลข ซึ่งผิดกฎข้อ1 |
return | เป็นการตั้งชื่อที่ไม่ถูกต้องเพราะเป็นชื่อซ้ำกับคำสงวน ซึ่งผิดกฎข้อ4 คำแนะนำในการตั้งชื่อ Class 1. ตัวอักษรตัวแรกของทุกคำขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ (A ถึง Z) 2. ตัวถัดไปประกอบด้วย ตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์เล็ก (a ถึง z), ตัวเลขอารบิก (0 ถึง 9) 3. ใช้ตัวอักษรตัวแรกของทุกคำเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ หรือ underscore เพื่อให้อ่านง่าย 4. ควรตั้งชื่อเป็นคำนามและสื่อความหมายของคลาสนั้นๆ |
คำแนะนำในการตั้งชื่อตัวแปร (Variable)
1. ขึ้นต้นชื่อด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก (a ถึง z)
2. ตัวถัดไปประกอบด้วย ตัวอักษรภาษาอังกฤษ, ตัวเลขอารบิก (0 ถึง 9)
3. ใช้ตัวอักษรตัวแรกของคำต่อไปเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ หรือ underscore เพื่อให้อ่านง่าย
4. ควรตั้งชื่อเป็นคำนามและสื่อความหมาย หรือเป็นคำสั้นๆ จำได้ง่าย
1. ขึ้นต้นชื่อด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก (a ถึง z)
2. ตัวถัดไปประกอบด้วย ตัวอักษรภาษาอังกฤษ, ตัวเลขอารบิก (0 ถึง 9)
3. ใช้ตัวอักษรตัวแรกของคำต่อไปเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ หรือ underscore เพื่อให้อ่านง่าย
4. ควรตั้งชื่อเป็นคำนามและสื่อความหมาย หรือเป็นคำสั้นๆ จำได้ง่าย
ตัวอย่างชื่อตัวแปร เช่น name, studentRecord
คำแนะนำในการตั้งชื่อ Method
1. ขึ้นต้นชื่อด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก (a ถึง z)
2. ตัวถัดไปประกอบด้วย ตัวอักษรภาษาอังกฤษ, ตัวเลขอารบิก (0 ถึง 9)
3. ใช้ตัวอักษรตัวแรกของคำต่อไปเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ หรือ underscore เพื่อให้อ่านง่าย
4. ควรตั้งชื่อเป็นคำกริยาและสื่อความหมาย
1. ขึ้นต้นชื่อด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก (a ถึง z)
2. ตัวถัดไปประกอบด้วย ตัวอักษรภาษาอังกฤษ, ตัวเลขอารบิก (0 ถึง 9)
3. ใช้ตัวอักษรตัวแรกของคำต่อไปเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ หรือ underscore เพื่อให้อ่านง่าย
4. ควรตั้งชื่อเป็นคำกริยาและสื่อความหมาย
ตัวอย่างชื่อ Method เช่น getName(), isLetter()
คำแนะนำในการตั้งชื่อ ค่าคงที่ (Constant)
1. ตั้งชื่อด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ (A ถึง Z) ทั้งหมด
2. ใช้ underscore ใช้ในการแบ่งคำแต่ละคำ
1. ตั้งชื่อด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ (A ถึง Z) ทั้งหมด
2. ใช้ underscore ใช้ในการแบ่งคำแต่ละคำ
ตัวอย่างชื่อค่าคงที่ เช่น MAX_VALUE, MIN_VALUE
3. คำสงวน (Keyword)
คำสงวนในภาษา Java คือคำศัพท์ที่คอมไพเลอร์ของภาษา Java เข้าใจได้ เป็นคำสั่งสำคัญที่ใช้แทนความหมายของการทำงานต่างๆและใช้ได้เฉพาะคำสั่งของ Java เท่านั้น ผู้เขียนโปรแกรมไม่สามารถนำมาตั้งชื่อเป็นตัวระบุต่างๆ เช่น ชื่อตัวแปร ชื่อคลาส ชื่อเมธอด ได้ คำสงวนในภาษา Java ประกอบด้วยคำศัพท์ ดังนี้
คำสงวนในภาษา Java
| ||||
abstract | default | if | package | throw |
boolean | do | implements | private | thows |
break | double | import | protected | transient |
byte | else | inner | public | try |
byvalue | extends | instanceof | rest | var |
case | final | int | return | void |
cast | finally | interface | short | volatile |
catch | float | long | static | while |
char | for | native | super | |
class | future | new | switch | |
const | generic | operator | synchronized | |
continue | goto | outer | this |
4. สัญลักษณ์แยกคำ(Separator)
ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแยกคำ ดังนี้
สัญลักษณ์แยกคำ
|
หน้าที่
|
;
| เพื่อการสิ้นสุดประโยคคำสั่งของภาษา Java |
( )
| ใช้สำหรับต่อท้ายเมธอดหรือคำสั่ง ตัวอย่างเช่น if(), functionTest() เป็นต้น |
,
| สำหรับแยกตัวแปร หรือคำสั่ง ตัวอย่างเช่น int x,y,z; |
.
| ใช้ในการระบุคุณลักษณะ หรือเมธอดของคลาส ตัวอย่างเช่น System.out.println(); ใช้ในการระบุแพ็คเกจของภาษ Java เช่น java.io.*; |
{ }
| เพื่อระบุขอบเขตของคำสั่งของภาษา Java โดยคำสั่งต่างๆจะอยู่ภายในบล็อก เช่น คำสั่งที่อยู่ภายในคลาส เมธอด หรืออยู่ภายในคำสั่งควบคุมต่างๆ เช่น if, while, do..while หรือ for เป็นต้น |
ช่องว่าง
(Whitespace) | ใช้ช่องว่างเพื่อแยกคำสั่ง ข้อความต่างๆโดยคอมไพเลอร์ของภาษา Java จะไม่สนใจและไม่มีผลต่อโปรแกรม ช่องว่างทำให้อ่านซอร์สโค้ดได้ง่ายขึ้น รูปแบบของช่องว่าง ได้แก่ การกดคีย์แทบ (Tab), ช่องว่าง (Space bar) และขึ้นบรรทัดใหม่ (Enter) บนแป้นพิมพ์ |
5. ข้อมูลค่าคงที่
ข้อมูลค่าคงที่คือคำที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักขระ ข้อความ หรือค่าทางตรรกะ ซึ่งในภาษา Java ได้กำหนดข้อมูลค่าคงที่ไว้ 5 ประเภท ดังนี้
1. ตรรกะ (Boolean)
2. ตัวอักขระ (Character)
3. ตัวเลขจำนวนเต็ม (Integer)
2. ตัวอักขระ (Character)
3. ตัวเลขจำนวนเต็ม (Integer)
ค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็ม ประกอบด้วยลำดับของตัวเลข ซึ่งสามารถเขียนได้โดยใช้
ระบบจำนวน(Number System) อาทิเช่น ระบบเลขฐานสิบ ฐานแปด และฐานสิบหกค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มฐานสิบแต่ละหลักต้องประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 9 โดยตัวเลขหลักแรกต้องไม่เป็น 0 และไม่มีเครื่องหมายอื่นๆ เช่น จุลภาค(,) จุดทศนิยม(.) หรือ ช่องว่าง เป็นต้น
ระบบจำนวน(Number System) อาทิเช่น ระบบเลขฐานสิบ ฐานแปด และฐานสิบหกค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มฐานสิบแต่ละหลักต้องประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 9 โดยตัวเลขหลักแรกต้องไม่เป็น 0 และไม่มีเครื่องหมายอื่นๆ เช่น จุลภาค(,) จุดทศนิยม(.) หรือ ช่องว่าง เป็นต้น
ตัวอย่างของค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มฐานสิบที่ถูกต้อง ได้แก่
0 1 123 5482 364820 9994750
ตัวอย่างของค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มฐานสิบที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่
12,510 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะมีเครื่องหมายจุลภาค |
360.52 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะมีเครื่องหมายจุดทศนิยม |
15 822 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะมีช่องว่าง |
123-456-789 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะมีเครื่องหมายลบ |
09001 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะมีเลข 0 นำหน้า |
ค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มฐานแปดแต่ละหลักต้องประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 7 โดย
ตัวเลขหลักแรกต้องเป็น 0 และไม่มีเครื่องหมายอื่นๆ เช่น จุลภาค(,) จุดทศนิยม(.) หรือ ช่องว่าง เป็นต้น
ตัวเลขหลักแรกต้องเป็น 0 และไม่มีเครื่องหมายอื่นๆ เช่น จุลภาค(,) จุดทศนิยม(.) หรือ ช่องว่าง เป็นต้น
ตัวอย่างของค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มฐานแปดที่ถูกต้อง ได้แก่
0 01 0123 05472
ตัวอย่างของค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มฐานแปดที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่
752 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะไม่มี 0 นำหน้า |
05281 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะมีตัวเลข 8 |
0475.510 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะมีเครื่องหมายจุดทศนิยม (.) |
ค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มฐานสิบหกแต่ละหลักต้องประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 9 และ
ตัวอักษร a ถึง f (ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่) โดยต้องขึ้นต้นด้วย 0x หรือ 0X และไม่มีเครื่องหมายอื่นๆ เช่น จุลภาค(,) จุดทศนิยม(.) หรือ ช่องว่าง เป็นต้น
ตัวอักษร a ถึง f (ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่) โดยต้องขึ้นต้นด้วย 0x หรือ 0X และไม่มีเครื่องหมายอื่นๆ เช่น จุลภาค(,) จุดทศนิยม(.) หรือ ช่องว่าง เป็นต้น
ตัวอย่างของค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มฐานสิบหกที่ถูกต้อง ได้แก่
0X 0X1 0x789FF 0xabcd
ตัวอย่างของค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มฐานสิบหกที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่
0xDEFG | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะมีตัวอักษร G |
05281 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะไม่ขึ้นต้นด้วย 0x หรือ 0X |
0X475.10 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขจำนวนเต็มที่ผิดเพราะมีเครื่องหมายจุดทศนิยม (.) |
ค่าคงที่ตัวเลขทศนิยม คือตัวเลขทศนิยมฐานสิบ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 9 และจุดทศนิยม หรือเลขชี้กำลังที่เขียนอยู่ในรูปแบบของเลขยกกำลัง (Exponential)
ตัวอย่างของค่าคงที่ตัวเลขทศนิยมที่ถูกต้อง ได้แก่
0. 1. 0.2 700225.542
50000. 0.000458 12.578 30.E4
25E-8 0.006e-3 1.678E+8 .12345e12
50000. 0.000458 12.578 30.E4
25E-8 0.006e-3 1.678E+8 .12345e12
1 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขทศนิยมที่ผิดเพราะไม่มีจุดทศนิยมหรือเลขชี้กำลัง |
2E+10.2 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขทศนิยมที่ผิดเพราะเลขชี้กำลังต้องเป็นเลขจำนวนเต็มเท่านั้น |
12,000.158 | เป็นค่าคงที่ตัวเลขทศนิยมที่ผิดเพราะมีเครื่องหมายจุลภาค |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น